Mental Well-Being สุขภาพจิตอ่อนไหว หรือข้างในไม่สมดุล

ปัญหาสุขภาพจิตหรือภาวะป่วยทางจิต (Mental illness) เกิดจากอะไร?

เกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาท ฮอร์โมน การเกิดบาดแผลในจิตใจ ความเครียดวิตกกังวลที่ไม่สามารถจัดการได้ การอักเสบภายในร่างกาย การขาดสารอาหาร ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมในการกระตุ้นความคิดและสมองน้อยลง  ประวัติทางพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวมีภาวะป่วยทางจิต ประวัติอุบัติเหตุที่กระทบกระแทกกระโหลกศีรษะ ความอ้วน เบาหวาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง เช่น ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ โลหิตจาง หรือมีปัญหาด้านการนอน เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ หรือการเจ็บป่วยทางจิต (Mental illness) ได้

 

ความเครียดคืออะไร ?

ความเครียด (Stress)  คือภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกบีบคั้น กดดัน ทำให้มีอาการแสดงที่ต่างกัน เช่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดหัว ซึมเศร้า บางคนอาจมีอาการประสาทหลอนได้ ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละคนจะมีวิธีการปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้ขึ้นกับทักษะการจัดการความเครียดของแต่ละบุคคล  แต่ในบางคนที่เกิดความเครียดและหาทางระบายออกไม่ได้หรือเครียดบ่อยๆ กลายเป็นความทุกข์ทรมาน  จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน  ทั้งยังอาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder)  หรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้

 

จะสังเกตตัวเองอย่างไร ว่าเริ่มมีความเครียด?

  1. นอนไม่หลับ ความเครียดอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ และหากนอนไม่หลับเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อสุขภาพกายและใจโดยรวมจน เริ่มมีภาวะซึมเศร้า หรือความเครียดรุนแรง
  2. พฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่ร่าเริง นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย  เบื่อหน่าย และปิดกั้นตัวเอง
  3. เศร้าหมอง  หรือวิตกกังวล  ผู้ที่มีความเครียดมักจะรู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข หรือวิตกกังวลกับเรื่องต่างๆ จนแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง หรือคำพูด
  4. ความเครียดอาจแสดงออกเป็นอาการทางกาย เช่น หายใจถี่ขึ้น หรือ “กลั้นหายใจ” โดยไม่รู้สึกตัว  ปวดท้อง อาเจียน ปวดศีรษะ
  5. ในกรณีรุนแรง ผู้ป่วยอาจจะพูดว่าอยากตาย บางครั้งอาจฟังเหมือนเป็นการพูดเล่น ดังนั้นจึงควรใส่ใจผู้พูดให้มากขึ้น ไม่ว่าจะพบการตัดพ้อเช่นนี้ ในโลกโซเชียลหรือพูดขึ้นลอยๆ

 

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อรู้สึกเครียด?

  1. วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เราเครียด และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น
  2. ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกระตุ้นประสาท
  5. พบปะเพื่อนฝูง เพื่อพูดคุยในเรื่องที่สร้างเสียงหัวเราะ และระบายปัญหาต่างๆ (หากเพื่อนรับฟัง)
  6. จัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เช่น จัดบ้าน หรือโต๊ะทำงานให้ผ่อนคลาย  ปลูกต้นไม้เล็กๆ หรือแจกันดอกไม้สร้างความสดชื่น
  7. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายและให้ความสนุกสนาน
  8. เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของความเครียด

 

หากเริ่มมีอาการเครียดสะสมเราจะดูแลรักษาในรูปแบบไหน?

การดูแลสุขภาพจิตไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดภาวะเครียด ทุกๆคนสามารถส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตให้ดีได้ตลอดเวลา ด้วยวิธีต่างๆ กัน  แต่หากพบว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาสุขภาพจิตแล้วโดยเฉพาะ ภาวะเครียดการพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา โดยพานาซี จะทำการรักษาความเครียดโดย

  1. แพทย์พูดคุยซักประวัติและตรวจร่างกาย  เพื่อวินิจฉัยทางการแพทย์และหาสาเหตุของความเครียดและภาวะสมดุลสารสื่อประสาทจากภายในร่างกายที่ไม่สมดุล โดยใช้การตรวจวินิจฉัยเชิงลึกเพื่อให้ได้สาเหตุที่แท้จริง
  2. ในกรณีความเครียดส่งผลทางกาย เช่น นอนไม่หลับ ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ แพทย์จะให้การรักษาฟื้นฟู เพื่อช่วยในเรื่องของการทำงานของสมองและระบบประสาทด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เห็นผลลัพธ์และมีงานวิจัยรองรับจริง เช่น โปรแกรม NAD THERAPY, HYPER BARIC OXYGEN THERAPY เป็นต้น
  3. การให้คำปรึกษาของแพทย์เฉพาะทางในการดูแลรักษาแบบองค์รวม ด้วยการให้คำปรึกษา การสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา  ชี้แนะอย่างถูกวิธีเพื่อคลายความเครียด
  4. จิตบำบัด  โดยจิตแพทย์ และนักจิตบำบัด

 

โปรแกรมการรักษาความเครียดของพานาซี มีอะไรบ้าง 

 

  1. HBOT (Hyperbaric Oxygen Therapy)  

HBOT คือการบำบัดปัญหาสุขภาพโดยใช้ออกซิเจนภายใต้สภาวะความกดอากาศสูงกว่าปกติทั่วไป ด้วยลักษณะพิเศษคือการให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ให้ผู้ป่วยหายใจ ขณะอยู่ในห้องปรับความดันให้สูงกว่าความดันบรรยากาศ (Hyperbaric Chamber) ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงมากกว่าการให้ออกซิเจนตามปกติ ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นต่อการสร้างพลังงานของเซลล์ทำให้การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายดีขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ดีในผู้ที่มีภาวะเครียดและนอนไม่หลับเรื้อรังจากสารสื่อประสาทไม่สมดุล

  1. NAD+ Therapy

NAD+ โคเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ และส่งผลโดยตรงต่อการมีสุขภาพที่ดี ป้องกันโรครวมทั้งลดความเสื่อมของร่างกาย พบว่าผู้ที่มีปัญหาควาเครียดและปัญหานอนไม่หลับมีระดับ NAD+ ในร่างกายที่น้อยกว่าปกติ การเติม NAD+ อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอสามารถแก้ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้

  1. Essential oil

Scientific therapeutic essential oil เพื่อการบำบัดด้วยกลิ่น น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อจิตใจ การที่เราได้กลิ่นหรือสูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเข้าไปนั้น กลิ่นจะเดินทางไปยังสมองส่วนลิมบิกโดยตรง ซึ่งสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกและฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับจิตใจนั่นเอง” การนำกลิ่นมาใช้เพื่อการบำบัดภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการรักษาสำคัญของโรงพยาบาลพานาซี พระรามสอ

  1. Supplements

การเสริมธาตุอาหาร แร่ธาตุหรือวิตามินหลายชนิดอย่างเหมาะสม จะช่วยแก้ปัญหาและป้องกันภาวะความเครียดได้ อาทิ เช่น แม็กนีเซียม วิตามินบี กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นต้น ซึ่งปริมาณและชนิดจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์  

 

ต้องการนัดหมายปรึกษาแพทย์เบื้องต้น

คลิ๊กที่นี !